กรณีตัวอย่าง :
โครงการสร้างความร่วมมือกับลูกค้า

Partnering Program
ของการปรับปรุงเครื่องกรองที่ด้อยประสิทธิภาพ

ในปี 2549, กระบวนการผลิตก๊าซธรรมชาติแห่งหนึ่ง ประสบปัญหาระบบปรับปรุงคุณภาพก๊าซที่ทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ นั่นคือก๊าซมีความชื้นสูง ทำให้เมื่อผ่านระบบอุปกรณ์กำจัดปรอท (Mercury removal unit : MRU) สารดูดซับปรอททำงานได้ไม่ดีและมีค่าใช้จ่าย ในการซ่อมบำรุงในการเปลี่ยนสารดูดซับสูง โรงงานจึงต้องการหาวิธีทำให้ก๊าซมีความชื้นน้อยลงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของ MRU ให้สูงขึ้น

inCyam ร่วมกับผู้ผลิตคือ PECO จึงจัดทำโครงการ Partnering Program ร่วมมือกับลูกค้าหาวิธีเพิ่มประสิทธิภาพระบบปรับปรุงคุณภาพก๊าซโดยเพิ่มประสิทธิภาพ การกรองก๊าซที่ Gas Coalescer ก่อนเข้า MRU ผลลัพธ์ที่ได้สามารถลดปริมาณความชื้นสะสมในก๊าซจากเดิมได้มากถึง 82.51% (จาก 18.3 ppm เหลือ 3.2 ppm) ภายหลังได้นำกระบวนการดังกล่าวมาใช้การแก้ปัญหาให้กับลูกค้ารายอื่นๆ ในกรณีคล้ายๆกัน โดยมีกระบวนการหลักๆดังนี้

1.
Set up
Partnering
Program
2.
Research
  • SPS Test
  • Lab test
  • Bench Test
3.
Trial & Optimize
Solution
4.
Develop
Long Term
Contract
5.
Inventory
Management

1. Set up partnering program :

ตกลงความร่วมมือในการหาวิธีการทำงานร่วมกับลูกค้า ออกแบบกระบวนการทำการทดลองและระยะเวลาใน การหา Solution และการประเมินผลร่วมกันในขั้นตอนต่างๆ

2. SPS Test (Scientific process solution) :

เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงานของไส้กรองก๊าซเดิม และคุณสมบัติของก๊าซที่จุดต่างๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อค้นหาและวิเคราะห์ถึงสาเหตุที่แท้จริง และใช้ในการวัดประสิทธิภาพหลังปรับปรุงแล้ว

  • Lab Test : เพื่อหาคุณสมบัติเบื้องต้นของของเหลวและสารปนเปื้อนที่ปนอยู่ในก๊าซในการนำไปเลือกเทคโนโลยีไส้กรองที่เหมาะสม
  • Bench Test : เพื่อจำลองการทำงานจริงในการทดสอบปริมาณของเหลวที่ปนอยู่ในก๊าซ เมื่อนำตัวอย่างไส้กรองแบบต่างๆ ที่เลือกมาทดสอบ

3. Trial & optimize solution :

การทดสอบก่อนนำไปใช้จริงที่ห้องปฏิบัติการในประเทศสหรัฐอเมริกา การทดสอบความเข้ากันได้ทางเคมี รวมทั้งการทดสอบใช้งานจริง และวัดผลเพื่อปรับปรุงให้ได้เทคโนโลยีไส้กรองที่เหมาะสมในการนำไปใช้งาน

4. Develop long term contract :

ตกลงทำสัญญาร่วมกันในระยะยาวเพื่อให้ได้ราคาถูกลง

5. Inventory management :

ร่วมกันวางแผนการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง เพื่อให้มีต้นทุนสินค้าคงคลังต่ำสุดและยังมีของพร้อมใช้


กรณีศึกษา :

การร่วมวางแผนผลิตและขนส่งอุปกรณ์ เพื่อเปลี่ยนชุดท่อแลกเปลี่ยนความร้อนแบบตัวยู
(Hairpin heat exchanger bundles) ให้ได้ตามแผนงานการซ่อมบำรุงของโรงงาน

โรงกลั่นแห่งหนึ่งวางแผนจะซ่อมบำรุงโรงงาน (Plant shutdown) เพื่อดำเนินการเปลี่ยนอุปกรณ์ชุดท่อแลกเปลี่ยน ความร้อนแบบตัวยูที่ชำรุดภายในปี 2562 ทางกลุ่มบริษัทบี ปิโตรไทย ได้มีโอกาสร่วมวางแผนดำเนินงานตั้งแต่การ จัดการด้านวิศวกรรมจนถึงขั้นตอนการขนส่งอุปกรณ์ พร้อมวางแผนป้องกันความเสี่ยง (Risk management) เพื่อให้อุปกรณ์ที่ต้องใช้สำหรับการซ่อมบำรุงมาถึงหน้างานตามเวลาที่กำหนด และต้องเป็นไปตามข้อกำหนดของลูกค้า โดยเรามีการบริหารจัดการโครงการ (Project management) ที่ดี ทำให้ลูกค้าสามารถดำเนินงานได้ตามแผน และ คุมค่าใช้จ่ายให้เกิดความคุ้มค่ามากที่สุด

ด้วยขั้นตอนดังนี้

  • การจัดการด้านวิศวกรรม (Engineering management)
  • การติดตามและจัดการวางแผนการผลิตร่วมกับโรงงานผู้ผลิต (Production Monitoring & recovery plan)
  • การจัดการด้านการขนส่งอุปกรณ์ (Route management)
  • การรับประกัน (Warranty)